วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย​์

จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์
Contemplative education : education for human development

จัดทำโดย วิชาการ.คอม vichakarn.com


เป้าหมายที่แท้ของการศึกษา คือ การเปลี่ยนผู้เรียนจากผู้ไม่รู้ สู่ผู้รู้ และผู้เป็นที่เห็นได้จากการมีวิธีคิด จิตสำนึก ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตอนที่ยังไม่รู้และเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า การศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นสร้างผู้เรียนให้เป็นเพียงผู้จำล้วนเป็น เพียงการจำเพื่อไปสอบ สร้างให้ผู้เรียนมีสภาพเป็นตำราที่เดินได้ โดยไม่ได้นำเอากระบวนการ “การเปลี่ยนคน สร้างสรรค์สังคม” มาเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษา



คำถามที่เกิดตามมา คือ หากการศึกษาที่เป้นอยู่ พาเราไปสู่ทางออกของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ไม่ได้ หนำซ้ำกลับยิ่งสร้างปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะวิถีของการศึกษาในยุคปัจจุบันเป็นการศึกษาที่สร้างให้คิดแบบแยกส่วน หล่อหลอมให้คนมีจิตสำนึกการแข่งขัน และยึดเอาตนเอง หรือหมู่พวกของตนเป็นศูนย์กลาง


สารพันปัญหาที่มีดีกรีความรุนแรงระดับโลกที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสิ่งแวดลอม ในขณะที่วิกฤติแฮมเบอร์เป็นปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนปัญหาความแตกต่างทางความคิดทางด้านการเมืองจนกลายเป็นความแตกแยกก็เป็น ปัญหาที่พบได้ทั้งในระดับประเทศ หรือในระดับบุคคล ก็ยังพบว่าคนในยุคนี้ “ทุกข์ง่าย สุขยาก” ทั้งนี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการที่บัจเจกบุคคลขาดสำนึกที่ดีง่าย และขาดซึ่งความตระหนักถึงภาวะหน้าที่ของตนที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสิ่งใน ธรรมชาติ


ด้วยเหตุนี้ การเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) จึงเกิดขึ้นเพื่อผ่าทางตันให้กับปัญหาที่ดูเหมือนจะไร้ทางออก หากเรายังคิดและทำไปบนกระบวนทัศน์เดิม


การเรียนรู้ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง
หากมนุษย์สักคนมีความสุขอยู่กับการได้เสพวัตถุ และนึกอยู่แต่เพียงว่ามีวัตถุพรั่งพร้อมเป็นวิธีที่ทำให้เขามีความสุข เป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ก็คือ การเสพสุขจากวัตถุไปเรื่อย ๆ ด้วยความหิวกระหาย และเมื่อใดก็ตามที่เขาหรือเธอคนนั้นฉุกคิดขึ้นมาว่าเกิดค้นพบว่า


ความจริงแล้ว “ชีวิตเราจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกันเมื่อหายใจเข้าจักรวาลทั้งหมดก็มาเชื่อม กับตัวเรา หายใจออกตัวเราก็ไปเชื่อมกับจักรวาลทั้งหมด” จะเกิดความรู้สึกนึกคิดใหม่อย่างสิ้นเชิง อย่างที่เรียกว่าจิตเปลี่ยน หรือบางคนเรียกว่าเกิดจิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) มีความสุขอย่างลึกล้ำ มีพลังดื่มด่ำความงามในสรรพสิ่ง และมีความรักอันไพศาล... ในสภาพที่มีความสมบูรณ์เป็นตัวเองอย่างนี้ วัตถุนิยมบริโภคนิยมก็ยุติลง* (*จากหนังสือความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด : ความจริง ความดี ความงาม. จัดพิมพ์โดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล)


กระบวนการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเน้นให้ผู้เรียนไปกับความจริง สูงสุด ที่เมื่อเข้าถึงแล้วจะก่อเกิดอิสรภาพความสุข ความรักเพื่อมนุษย์และธรรมชาติ อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างศานติ


การศึกษาเช่นนี้จึงเป็นการศึกษาที่ต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และส่งผลต่อชีวิตด้านในของผู้เรียนจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงผ่าน วิธีการหลักที่ใช้ คือ การสร้างความรู้เชิงประจักษ์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการมีประสบการณ์ตรงด้วยการทำสมาธิและวิปัสสนาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนทางกาย เช่น ชี่กง โยคะ การเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่าง ๆ การเรียนรู้ผ่านการทำงานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ การใคร่ครวญทางความคิดโดยอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน ตลอดจนการเข้าร่วมในประสบการณ์ต่างๆ ทางสังคมและในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนผ่านขั้นตอนสำคัญในแต่ละช่วงชีวิตของทั้งบุคคลและ กลุ่มสังคมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ



หากจะกล่าวโดยย่อแล้ว จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) คือหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะ พิเศษคือ มุ่งไปที่การพัฒนาชีวิตโดนการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก จากรากฐานของการปฏิบัติและฝึกฝนจริง
จิตตปัญญาเพื่อการศึกษาทางรอด


แนวคิดเรื่องจิตปัญญาศึกษา เริ่มต้นขึ้นที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ในค.ศ. 1947 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งโดยเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต ที่มีอิทธิพลต่อการเผยแพร่ความรู้ด้านจิตวิญญาณให้แก่ชาวตะวันตก


มหาวิทยาลัยนาโรปะมีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่การสืบค้นสำรวจภายใน ตนเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและการรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักรู้การหยั่งรู้ ความเปิดกว้าง ความเคารพในความเป้นมนุษย์และการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย


อกจากที่มหาวิทยาลัยนาโรปะแล้วปัจจุบันยังมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีปรัชญาและ พันธกิจของสถาบันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาจิตอยู่หลายแห่งด้วยกัน อาทิ Californin Institute of Integral Studies (CIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา Budhist Tzu Chi University ประเทศไต้หวัน และ Sathya Institute of Higher Learning ประเทศอินเดีย


ในประเทศไทยได้มีการรวมตัวของภาคีเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา อันเป็นการร่วมตัวอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มผู้สนใจในการเข้าร่วมหารือ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานสร้างคนที่เป็นกำลังสำคัญในการให้ศึกษาตาม แนวทางจิตตปัญญาศึกษา กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วไปในหลักสูตรการศึกษาทุกประเภทและทุก ระดับ


สภามหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นใน มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพันธกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และร่วมขับเคลื่อนกับภาคประชา สังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมถึงการพัฒนากระบวนการและวิธีการเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษา ทั้งในการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัย และฝึกอบรม โดยร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาสื่อและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านจิตตปัญญาศึกษากับ องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ


เครือข่ายที่ทำงานด้านจิตตปัญญากลุ่มอื่น ๆ เช่นสถาบันการศึกษาสัตยาไส เสถียรธรรมสถาน สถาบันขวัญเมืองเสมสิกขลัย และสถาบันอาศรมศิลป์ เป็นต้น



รู้จิตของตนจนเกิดปัญญา
ก่อนหน้าการเกิดขึ้นของกระแส “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformtive Learning)” ในยุคเรานี้ อริยชนที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ก่อนหน้าก็ได้เคยเฝ้าเพียรค้นหาหนทางแห่งการ เข้าสู่ความจริงแท้มาแล้วมากมาย และมรดกชิ้นนั้นก็ตกทอดมาถึงปัจจุบันในรูปศาสนธรรมของทุกศาสนา ที่ต่างก็ได้แสดงถึงวิ๔ในการเข้าถึงความจริงแท้เอาไว้อย่างหลากหลาย


การเข้าถึงความจริงแท้หรือสัจธรรม คือเป้าหมายในชีวิตของ “มนุษย์” ที่ยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรมของตนบนโลกนี้ยึดถือการปฏิบัติมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม กระแสของทุนนิยมมีความเชี่ยวกราดกว่ากระแสธรรม โลกจึงต้องพบกับความหายนะอย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ เพราะ “คน” บนโลกต่างพากันยึดเอาทุนนิยมที่ดำรงสภาพอยู่ได้ด้วยหิวกระหายในการบริโภคมา เป็นตัวตั้งความสุขที่เกิดจากการได้เสพ จึงเป็นจึงเป็นความสุขเดียวที่คนในยุคนี้รู้จัก


ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากการไม่ปรุงแต่ง ที่ผุดขึ้นมาเอง เมื่อจิตอยู่ในภาวะปกติ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า และเป็นสื่อที่จะพาเราลัดตรงเข้าพบสัจธรรมที่ปรากฏอยู่ข้างในตนของมนุษย์ทุก คนอยู่แล้ว กลับกลายเป็นความสุขที่น้อยคนนักจะรู้จักและเข้าถึง


จิตตปัญญาศึกษาจึงเกิดขึ้นมาเพื่อเชื้อเชิญให้คนในยุคสมัยได้เข้าไปสัมผัส กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด หรือการเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม เพื่อไปพบกับอิสรภาพ ความสุข และความรักอันไพศาล ที่พ้นไปจากการยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางด้วย การเจริญสิตในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ซึ่งคนในยุคนี้ห่างไกลจากการเข้าถึงความจริง ความดี ความงามจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องการ “การปฏิวัติจิตสำนึก (Consciousness Revolution)” เลยทีเดียว


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะลี ได้กล่าวไว้ในปาฐกถาสวัสดิ์ สกุลไทย เรื่อง”มหาวิทยาลัยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2550 ดังมีความตอนหนึ่งว่า
“การเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม เป็นการปฎิวัติจิตสำนึก... ท่านอาจเลือกศึกษาตามจริงที่แตกต่างกันตั้งแต่ง่ายไปหายาก ที่ง่ายที่สุดคือการนึกถึงคนอื่นหรือสิ่งอื่น หรือการมีความเมตตากรุณา


ความสุขที่เกิดขึ้นจากการไปปรุงแต่ง ที่ผุดขึ้นมาเองเมื่อจิตอยู่ในภาวะปกติ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า และเป็นสื่อที่จะพาเราลัดตรงเข้าถึงสัจธรรม ที่ปรากฏอยู่ในตนของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว กลับกลายเป็นความสุขที่น้อยคนมักจะรู้จักและเข้าถึง


การนึกถึงสิ่งอื่นหรือและคนอื่นก็เป็นการออกจากมายาคติแห่งการเอาตัวเองเป็น ศูนย์กลาง เป็นการเข้าหาความจริงแล้วเพราะในความจริงมีคนอื่นและสิ่งอื่นด้วย ไม่ใช่มีแต่ตัวเรา


การนึกถึงคนอื่นและสิ่งอื่นก็เป็นความดีและความงาม การมีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ และเป็นการก้าวไปสู่ความจริง คาวมดี ความงามแล้ว ซึ่งเราสามารถทำได้ด้วยประการต่าง ๆ ตามหน้าที่ของเรา แล้วก็เดินเข้าหาความจริงมากยิ่งขึ้นจนเข้าถุงความเป็นหนึ่งเดียวกันของ ทั้งหมด”


“ปรกติเราสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ด้วยความคิด คือเรามีความคิดอะไรก่อนแล้ว (Preconception) รับรู้อะไรต่างๆ ตามความคิดขิงเรา ทำให้เข้าไม่ถึงความจริงตามธรรมชาติ ต่อเมื่อจิตสงบจากความคิดจึงจะสัมผัสความจริงตามที่เป็นอยู่จริงๆ ปราศจากการปรุงแต่ง (ด้วยความคิดของเรา) การมีสติรู้อยู่กับปัจจุบันทำให้จิตสงบจากความคิดปรุงแต่งโดยไม่รู่ตัว ทำให้สัมผัสความจริงได้ โลกที่เราสัมผัสด้วยตัวตนและความคิด กับโลกที่สัมผัสด้วยจิตที่สงบ มีสติ ต่างกันโดยสิ้นเชิง เรื่องนี้ทุกคนสามารถทกลองดูได้ด้วยตนเอง”


“การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง” “จิตตปัญญา” “จิตสำนึกใหม่” จึงเป็นวาทกรรมที่นำให้คนในยุคปัจจุบันหันหน้าเข้าหาสัจธรรม ด้วยวิธีการที่สามารถเชื่อมโยงเอาคุณค่าของโลกวิชาการที่สอนให้คนชำนาญ เรื่องการคิดวิเคราะห์เรื่องนอกตัว ได้กลับเข้ามาหางานดูจิตซึ่งเป็นเรื่องข้างในตัวได้อย่างกลมกลืน เพื่อก้าวสู่หนทางแห่งความจริงและชีวิต ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ และการเปลี่ยนแปลงที่สร้างอิสรภาพ ความสุข ความรักอันไพศาล ทั้งกับตน ผู้คนรอบข้าง ตลอดจนองค์กรและสังคมของมนุษยชาติ ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติของจักรวาล



*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
Creative Commons License
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ส่วนที่อยู่ในหมายเหตุ เป็นสิ่งสำคัญที่การศึกษาที่ถูกต้องจะช่วยได้ ซึ่งคงไม่สามารถสร้างขึ้นได้เฉพาะในโรงเรียน แต่จะต้องมาจากครอบครัวและสังคม
ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ที่ถ่ายทอดออกมา
จาก ขนมครกข้างวัด