วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ด่วน ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องเล็ก exhibition!!!

วงนำ้ชาใกล้จะครบวาระ อายุได้ ๔๑๔ วันในอีกไม่กีสัปดาห์นี้ จึงใคร่ขอเชิญพี่น้องๆ ส่งคำอวยพร
คำกลอนประทับใจ และความคิดถึงมาหาเรา ส่งได้เรื่อยๆ แต่ถ้าได้ก่อนวันที่ ๒๙ นี้จะเป็นการดี
ดูรายละเอียดจากภาพที่แนบมาน่ะคร้าบ

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

โฮมสคูลคืออะไร: แนะนำหนังสือดีพี่พ่อกับลูกตบเท้ามาเขียนให้เราอ่านกัน

ณ วงนำ้ชาขอนแก่นเย็นวันนี้ เราได้มีโอกาสโชคดีพบกับท่านผู้ปกครองท่านหนึ่ง ซึ่งแวะเวียนมาที่วงน้ำชาขอนแก่นเนื่องจากได้ยินได้ฟังมาจากเพื่อนของเธอว่า ที่วงนำ้ชาของเรามีหนังสือเกี่ยวกับโฮมสคูลขาย

ท่านได้เล่าให้เราฟังว่าได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมโรงเรียนพ่อแม่ ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทันเมื่อสองเดือนที่แล้ว และได้มีโอกาสไปอ่านบทความที่เว็บไซด์ www.wongnamcha.com แล้วก็เกิดมุมมองใหม่ทรรศนะใหม่เกี่ยวกับ "บทบาทของการเป็นแม่ที่ดี" ว่าจริงๆ แล้วเราควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้าใจ "ลูก" มากกว่าที่จะรอให้ลูกมาเข้าใจพ่อแม่ การแสดงออกของลูกหลายๆ อย่างทั้งในแง่ดีและแง่ลบเกิดมาจาก การปฏิบัติของพ่อแม่ต่อลูก

พ่อ แม่ ลูก ทั้งสามองค์ประกอบมีส่วนในการสร้างครอบครัวที่อบอุ่น แต่จะทำอย่างไรจึงจะเกิดความสมดุล
ได้เล่า

คุณแม่ท่านนี้เล่าให้ฟังถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อคุณแม่หันมาให้ ความสำคัญ ดูแล เอาใจใส่ต่อรายละเอียดของลูก ให้ความสำคัญต่อความ "เข้าใจ" ในตัวลูก เธอเน้นนักเน้นหนาว่า พอเราเข้าใจลูกแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกก็ดีขึ้น พ่อแม่เปลี่ยนมุมมองของตนเองและหันมา "ฟัง" ลูกอย่างตั้งใจ ความเข้าใจดังกล่าวก็เกิดขึ้น

ตอนท้ายคุณแม่ท่านนี้ก็เล่าให้ฟังว่า สนใจที่จะจัดกระบวนการพูดคุยกันภายในครอบครัว ระหว่าง พ่อ แม่และลูก แต่ยังไม่เคยทำ แต่ก็อยากลองทำ คุณลูกที่นั้งอยู่ติดๆ กัน(ซึ่งแวะมาทีหลังเพื่อมารับคุณแม่) ก็เลยเสริมให้เราฟังว่า พอคุยกันทีไรก็ทะเลาะกันทุกที ทำยังไงถึงจะไม่ทะเลาะกันเล่า วงน้ำชาก็เลยเสริมไปให้ฟังว่า จริงๆแล้วสมาชิกวงนำ้ชาก็ยังไม่เคยได้ทำอะไรเช่นนี้มาก่อน แต่ก็อยากให้ครอบครัวของคุณแม่ท่านนั้นไปลองดู แต่อาจจะเริ่มจากการตั้งกฎ กติการ่วมกัน และมีข้อควรปฎิบัติที่สำคัญก็คือ เคารพผู้พูดและเป็นผู้ฟังที่ดี นอกเหนือจากนั้นก็ให้เป็นไปตามธรรมชาติ และเสริมไปอีกว่า อยากให้ลองทำดู ได้ประสบการณ์เช่นไรก็ลองมาเล่าให้กันฟังอีกที

เกริ่มเสียอย่างยาว จริงๆ แล้ววงน้ำชาอยากจะแนะนำหนังสือสองเล่มนี้ที่อาจจะเกี่ยวกันอยู่บ้างถึงปรัชญาและแนวทางในการดูแลกันและกันภายในครอบครัว เปิดโอกาสให้การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นในรั้วบ้านของกันและกัน


เล่มใหม่ล้าสุดคุณลูกเขียนเล่า:
อิสระอย่างยิ่ง ดังอิสรา

ราคา 250.00 บาท

รายละเอียด:
โดย อัสรา วังวิญญู
สำนักพิมพ์วงน้ำชา
พิมพ์ครั้งแรก 2551
หนา 290 หน้า

ยิ่ง มีพ่อและแม่ที่มีความสามารถพิเศษ อันที่จริงฉันคิดว่าทุกคนมีความพิเศษ ถ้าคำว่า พิเศษ คือไม่เหมือนทั่วไป เพราะรูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอ ความสามารถ ไม่ได้ออกมาจากแบบพิมพ์ จึงไม่มีใครเหมือนกันทุกอย่างทุกประการ แม้ว่าโหนกจะจากไปตอนยิ่งเพิ่งอายุ ๔ ขวบ แต่ใหญ่ก็เลี้ยงดูลูกด้วยความคิดที่ร่วมกันทั้งเขาและโหนก ในฐานะแม่ที่มีลูกยังเล็กเหมือนกัน ฉันคาดเดาว่าโหนกคงมีความกังกลต่อชะตากรรมของตัวเองและลูก ฉันตัดสินใจถามโหนกตรงๆ ว่า ห่วงลูกไหม โหนกมองตาฉันแล้วบอกว่า ห่วงสิ เธอน้ำตาคลอ ฉันบีบมือเธอเบาๆ ด้วยความรัก ไม่ได้พูดอะไรอีกเชื่อมั่นในสติปัญญาของเธอว่าจะคลี่คลายได้ ผ่านไปอีกสองสัปดาห์ ฉันไปเยี่ยมเธออีกถามคำถามเดิม ยังห่วงลูกไหม โหนกยิ้มเปิดเผยอย่างเป็นตัวเธอตอบว่า ไม่หรอก คุยกับใหญ่แล้ว ใหญ่เขาจะเลี้ยงลูกได้ดี....


หนังสือพ่อเขียน: โรงเรียนทำเอง (Home-made School)


ราคา 120.00 บาท
รายละเอียด:
วิศิษฐ์ วังวิญญู

สำนักพิมพ์ศยาม
พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2548 หนา 144 หน้า


... ความไม่ลังเล ความมีสติสัมปชัญญะ ความตั้งมั่น เป็นพลังขับเคลื่อนให้ผู้เขียน (วิศิษฐ์ วังวิญญู) ดำเนินการจัดทำโรงเรียนที่บ้าน หรือทำบ้านและชีวิตให้เป็นที่เรียนรู้ จนหมดความยึดมั่นในคำว่าไปโรงเรียนอย่างสิ้นเชิง ... และได้นำมาถ่ายทอดผ่านหนังสือเล่มนี้ ในรูปของการเล่าถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองและลูก อันเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ อาทิ การเข้าสังคม ความเป็นอยู่ในชีวิตที่เรียบง่าย ภาษาและการอ่านการเขียน ความสำเร็จหรือความล้มเหลว การค้นพบความเลื่อนไหล วิชาการ หลักสูตร องค์ความรู้ กระบวนท่า มหาวิชา และความเป็นผู้นำ

โรงเรียนทำเอง เล่มนี้ น่าจะช่วยสะท้อน และผ่อนปรนการยึดมั่นต่อระบบการศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

(อ้างอิง: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย http://www.kledthaishopping.com)


วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

หนังสือน่าอ่านยิ่ง: นำอาหารกลับบ้าน

ชื่อหนังสือ นำอาหารกลับบ้าน
เขียนโดย เฮเลนา นอร์เบอร์ก-ฮอดจ์ และคณะ
มีจำหน่าย ณ วงน้ำชาขอนแก่น โทร. 091-974-0290 E-mail wongnamchakhonkaen@gmail.com

ปัจจุบันมีบรรษัทใหญ่ไม่กี่แห่งที่ควบคุมทิศทางอาหารของโลกอยู่ เฮเลนา นำผู้อ่านไปสู่ความเข้าใจกลไกการทำงานของบรรษัทข้ามชาติที่ทำให้ผู้ผลิตราย ย่อยของชุมชนท้องถิ่นทั่วโลกล่มสลาย ทั้งยังส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม

ผู้บริโภคก็ถูกทำให้รู้สึกไร้พลังต่อรอง ไร้ทางเลือก ต้องยอมจำนนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ แต่ด้วยการเห็นภาพรวมผ่านการถ่ายทอดจากผู้เขียน จะนำเราไปสู่บทสรุปของการ ?นำอาหารกลับบ้าน? ที่คนกินและคนผลิตมีส่วนร่วมกำหนดชะตากรรมได้อย่างแท้จริง
  • เฮเลนา นอร์เบอร์ก-ฮอดจ์ และคณะ เขียน / ไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์ แปล
    พิมพ์ครั้งที่ ๒ ราคา ๒๐๐ บาท สนพ. สวนเงินมีมา

จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย​์

จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์
Contemplative education : education for human development

จัดทำโดย วิชาการ.คอม vichakarn.com


เป้าหมายที่แท้ของการศึกษา คือ การเปลี่ยนผู้เรียนจากผู้ไม่รู้ สู่ผู้รู้ และผู้เป็นที่เห็นได้จากการมีวิธีคิด จิตสำนึก ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตอนที่ยังไม่รู้และเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า การศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นสร้างผู้เรียนให้เป็นเพียงผู้จำล้วนเป็น เพียงการจำเพื่อไปสอบ สร้างให้ผู้เรียนมีสภาพเป็นตำราที่เดินได้ โดยไม่ได้นำเอากระบวนการ “การเปลี่ยนคน สร้างสรรค์สังคม” มาเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษา



คำถามที่เกิดตามมา คือ หากการศึกษาที่เป้นอยู่ พาเราไปสู่ทางออกของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ไม่ได้ หนำซ้ำกลับยิ่งสร้างปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะวิถีของการศึกษาในยุคปัจจุบันเป็นการศึกษาที่สร้างให้คิดแบบแยกส่วน หล่อหลอมให้คนมีจิตสำนึกการแข่งขัน และยึดเอาตนเอง หรือหมู่พวกของตนเป็นศูนย์กลาง


สารพันปัญหาที่มีดีกรีความรุนแรงระดับโลกที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสิ่งแวดลอม ในขณะที่วิกฤติแฮมเบอร์เป็นปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนปัญหาความแตกต่างทางความคิดทางด้านการเมืองจนกลายเป็นความแตกแยกก็เป็น ปัญหาที่พบได้ทั้งในระดับประเทศ หรือในระดับบุคคล ก็ยังพบว่าคนในยุคนี้ “ทุกข์ง่าย สุขยาก” ทั้งนี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการที่บัจเจกบุคคลขาดสำนึกที่ดีง่าย และขาดซึ่งความตระหนักถึงภาวะหน้าที่ของตนที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสิ่งใน ธรรมชาติ


ด้วยเหตุนี้ การเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) จึงเกิดขึ้นเพื่อผ่าทางตันให้กับปัญหาที่ดูเหมือนจะไร้ทางออก หากเรายังคิดและทำไปบนกระบวนทัศน์เดิม


การเรียนรู้ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง
หากมนุษย์สักคนมีความสุขอยู่กับการได้เสพวัตถุ และนึกอยู่แต่เพียงว่ามีวัตถุพรั่งพร้อมเป็นวิธีที่ทำให้เขามีความสุข เป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ก็คือ การเสพสุขจากวัตถุไปเรื่อย ๆ ด้วยความหิวกระหาย และเมื่อใดก็ตามที่เขาหรือเธอคนนั้นฉุกคิดขึ้นมาว่าเกิดค้นพบว่า


ความจริงแล้ว “ชีวิตเราจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกันเมื่อหายใจเข้าจักรวาลทั้งหมดก็มาเชื่อม กับตัวเรา หายใจออกตัวเราก็ไปเชื่อมกับจักรวาลทั้งหมด” จะเกิดความรู้สึกนึกคิดใหม่อย่างสิ้นเชิง อย่างที่เรียกว่าจิตเปลี่ยน หรือบางคนเรียกว่าเกิดจิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) มีความสุขอย่างลึกล้ำ มีพลังดื่มด่ำความงามในสรรพสิ่ง และมีความรักอันไพศาล... ในสภาพที่มีความสมบูรณ์เป็นตัวเองอย่างนี้ วัตถุนิยมบริโภคนิยมก็ยุติลง* (*จากหนังสือความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด : ความจริง ความดี ความงาม. จัดพิมพ์โดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล)


กระบวนการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเน้นให้ผู้เรียนไปกับความจริง สูงสุด ที่เมื่อเข้าถึงแล้วจะก่อเกิดอิสรภาพความสุข ความรักเพื่อมนุษย์และธรรมชาติ อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างศานติ


การศึกษาเช่นนี้จึงเป็นการศึกษาที่ต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และส่งผลต่อชีวิตด้านในของผู้เรียนจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงผ่าน วิธีการหลักที่ใช้ คือ การสร้างความรู้เชิงประจักษ์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการมีประสบการณ์ตรงด้วยการทำสมาธิและวิปัสสนาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนทางกาย เช่น ชี่กง โยคะ การเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่าง ๆ การเรียนรู้ผ่านการทำงานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ การใคร่ครวญทางความคิดโดยอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน ตลอดจนการเข้าร่วมในประสบการณ์ต่างๆ ทางสังคมและในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนผ่านขั้นตอนสำคัญในแต่ละช่วงชีวิตของทั้งบุคคลและ กลุ่มสังคมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ



หากจะกล่าวโดยย่อแล้ว จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) คือหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะ พิเศษคือ มุ่งไปที่การพัฒนาชีวิตโดนการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก จากรากฐานของการปฏิบัติและฝึกฝนจริง
จิตตปัญญาเพื่อการศึกษาทางรอด


แนวคิดเรื่องจิตปัญญาศึกษา เริ่มต้นขึ้นที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ในค.ศ. 1947 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งโดยเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต ที่มีอิทธิพลต่อการเผยแพร่ความรู้ด้านจิตวิญญาณให้แก่ชาวตะวันตก


มหาวิทยาลัยนาโรปะมีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่การสืบค้นสำรวจภายใน ตนเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและการรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักรู้การหยั่งรู้ ความเปิดกว้าง ความเคารพในความเป้นมนุษย์และการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย


อกจากที่มหาวิทยาลัยนาโรปะแล้วปัจจุบันยังมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีปรัชญาและ พันธกิจของสถาบันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาจิตอยู่หลายแห่งด้วยกัน อาทิ Californin Institute of Integral Studies (CIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา Budhist Tzu Chi University ประเทศไต้หวัน และ Sathya Institute of Higher Learning ประเทศอินเดีย


ในประเทศไทยได้มีการรวมตัวของภาคีเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา อันเป็นการร่วมตัวอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มผู้สนใจในการเข้าร่วมหารือ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานสร้างคนที่เป็นกำลังสำคัญในการให้ศึกษาตาม แนวทางจิตตปัญญาศึกษา กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วไปในหลักสูตรการศึกษาทุกประเภทและทุก ระดับ


สภามหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นใน มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพันธกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และร่วมขับเคลื่อนกับภาคประชา สังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมถึงการพัฒนากระบวนการและวิธีการเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษา ทั้งในการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัย และฝึกอบรม โดยร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาสื่อและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านจิตตปัญญาศึกษากับ องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ


เครือข่ายที่ทำงานด้านจิตตปัญญากลุ่มอื่น ๆ เช่นสถาบันการศึกษาสัตยาไส เสถียรธรรมสถาน สถาบันขวัญเมืองเสมสิกขลัย และสถาบันอาศรมศิลป์ เป็นต้น



รู้จิตของตนจนเกิดปัญญา
ก่อนหน้าการเกิดขึ้นของกระแส “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformtive Learning)” ในยุคเรานี้ อริยชนที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ก่อนหน้าก็ได้เคยเฝ้าเพียรค้นหาหนทางแห่งการ เข้าสู่ความจริงแท้มาแล้วมากมาย และมรดกชิ้นนั้นก็ตกทอดมาถึงปัจจุบันในรูปศาสนธรรมของทุกศาสนา ที่ต่างก็ได้แสดงถึงวิ๔ในการเข้าถึงความจริงแท้เอาไว้อย่างหลากหลาย


การเข้าถึงความจริงแท้หรือสัจธรรม คือเป้าหมายในชีวิตของ “มนุษย์” ที่ยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรมของตนบนโลกนี้ยึดถือการปฏิบัติมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม กระแสของทุนนิยมมีความเชี่ยวกราดกว่ากระแสธรรม โลกจึงต้องพบกับความหายนะอย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ เพราะ “คน” บนโลกต่างพากันยึดเอาทุนนิยมที่ดำรงสภาพอยู่ได้ด้วยหิวกระหายในการบริโภคมา เป็นตัวตั้งความสุขที่เกิดจากการได้เสพ จึงเป็นจึงเป็นความสุขเดียวที่คนในยุคนี้รู้จัก


ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากการไม่ปรุงแต่ง ที่ผุดขึ้นมาเอง เมื่อจิตอยู่ในภาวะปกติ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า และเป็นสื่อที่จะพาเราลัดตรงเข้าพบสัจธรรมที่ปรากฏอยู่ข้างในตนของมนุษย์ทุก คนอยู่แล้ว กลับกลายเป็นความสุขที่น้อยคนนักจะรู้จักและเข้าถึง


จิตตปัญญาศึกษาจึงเกิดขึ้นมาเพื่อเชื้อเชิญให้คนในยุคสมัยได้เข้าไปสัมผัส กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด หรือการเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม เพื่อไปพบกับอิสรภาพ ความสุข และความรักอันไพศาล ที่พ้นไปจากการยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางด้วย การเจริญสิตในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ซึ่งคนในยุคนี้ห่างไกลจากการเข้าถึงความจริง ความดี ความงามจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องการ “การปฏิวัติจิตสำนึก (Consciousness Revolution)” เลยทีเดียว


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะลี ได้กล่าวไว้ในปาฐกถาสวัสดิ์ สกุลไทย เรื่อง”มหาวิทยาลัยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2550 ดังมีความตอนหนึ่งว่า
“การเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม เป็นการปฎิวัติจิตสำนึก... ท่านอาจเลือกศึกษาตามจริงที่แตกต่างกันตั้งแต่ง่ายไปหายาก ที่ง่ายที่สุดคือการนึกถึงคนอื่นหรือสิ่งอื่น หรือการมีความเมตตากรุณา


ความสุขที่เกิดขึ้นจากการไปปรุงแต่ง ที่ผุดขึ้นมาเองเมื่อจิตอยู่ในภาวะปกติ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า และเป็นสื่อที่จะพาเราลัดตรงเข้าถึงสัจธรรม ที่ปรากฏอยู่ในตนของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว กลับกลายเป็นความสุขที่น้อยคนมักจะรู้จักและเข้าถึง


การนึกถึงสิ่งอื่นหรือและคนอื่นก็เป็นการออกจากมายาคติแห่งการเอาตัวเองเป็น ศูนย์กลาง เป็นการเข้าหาความจริงแล้วเพราะในความจริงมีคนอื่นและสิ่งอื่นด้วย ไม่ใช่มีแต่ตัวเรา


การนึกถึงคนอื่นและสิ่งอื่นก็เป็นความดีและความงาม การมีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ และเป็นการก้าวไปสู่ความจริง คาวมดี ความงามแล้ว ซึ่งเราสามารถทำได้ด้วยประการต่าง ๆ ตามหน้าที่ของเรา แล้วก็เดินเข้าหาความจริงมากยิ่งขึ้นจนเข้าถุงความเป็นหนึ่งเดียวกันของ ทั้งหมด”


“ปรกติเราสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ด้วยความคิด คือเรามีความคิดอะไรก่อนแล้ว (Preconception) รับรู้อะไรต่างๆ ตามความคิดขิงเรา ทำให้เข้าไม่ถึงความจริงตามธรรมชาติ ต่อเมื่อจิตสงบจากความคิดจึงจะสัมผัสความจริงตามที่เป็นอยู่จริงๆ ปราศจากการปรุงแต่ง (ด้วยความคิดของเรา) การมีสติรู้อยู่กับปัจจุบันทำให้จิตสงบจากความคิดปรุงแต่งโดยไม่รู่ตัว ทำให้สัมผัสความจริงได้ โลกที่เราสัมผัสด้วยตัวตนและความคิด กับโลกที่สัมผัสด้วยจิตที่สงบ มีสติ ต่างกันโดยสิ้นเชิง เรื่องนี้ทุกคนสามารถทกลองดูได้ด้วยตนเอง”


“การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง” “จิตตปัญญา” “จิตสำนึกใหม่” จึงเป็นวาทกรรมที่นำให้คนในยุคปัจจุบันหันหน้าเข้าหาสัจธรรม ด้วยวิธีการที่สามารถเชื่อมโยงเอาคุณค่าของโลกวิชาการที่สอนให้คนชำนาญ เรื่องการคิดวิเคราะห์เรื่องนอกตัว ได้กลับเข้ามาหางานดูจิตซึ่งเป็นเรื่องข้างในตัวได้อย่างกลมกลืน เพื่อก้าวสู่หนทางแห่งความจริงและชีวิต ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ และการเปลี่ยนแปลงที่สร้างอิสรภาพ ความสุข ความรักอันไพศาล ทั้งกับตน ผู้คนรอบข้าง ตลอดจนองค์กรและสังคมของมนุษยชาติ ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติของจักรวาล



*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
Creative Commons License
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สนทนากับกาน้ำชา ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๘ ส.ค. ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ วงน้ำชาขอนแก่น

ครั้งที่ ๒ แล้ว วันนี้สมาชิกของเราไม่ค่อยจะเหมือนเดิมสักเท่าไหร่ เนื่องจากหลายคนติดธุระ แต่ไหนๆ ข้าพเจ้าก็จริงจังและชอบมากขนาดนี้ เลยตั้งตัวเองเป็นผู้ติดตาม บรรยายสถานการณ์ซะเลย

ต้องขออภัยล่วงหน้า เนื่องจากมือใหม่มากๆ เกรงว่าความสามารถในการฟัง จดจำ และตีความอาจจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วน หรือแปลผิดไปจากความตั้งใจของผู้พูด ทั้งนี้มีหลายเหตุปัจจัย แต่อย่างไรก็ตาม จะพยายามมองในแง่ดีที่สุด และไม่ให้ต้องมีใครได้รับความเสียหายจากเนื้อความในนี้

กิจกรรมนี้จะให้ทุกคนเขียนคำถามอะไรก็ได้ ครั้งนี้คนละ ๒ ข้อ พับใส่กาน้ำชา แต่ละคนจับคำถามขึ้นมาให้ทุกคน ตอบ โดยมีข้อแม้ว่า ขณะที่คนอื่นกำลังพูด จะต้องตั้งใจฟัง สมาชิกวันนี้ได้แก่ อ.ดี ทิพย์ ผึ้ง เฮียลื้อ พี่ชิว พี่ย้ง พี่ยอด น้ำเต้า คำถามในวันนี้ มีดังนี้

"พรุ่งนี้ฝนจะตกมั้ย?"
อ่า...ฟังปุ๊บนึกในใจ 'ใครจะไปรู้' ที่นึกอย่างนี้เพราะไม่ได้มีความจำเป็นอะไรเลยเกี่ยวกับฝน แต่ผู้ถามอยากรู้เนื่องจากพรุ่งนี้ต้องเดินทาง คงจะดีถ้าเกิดพรุ่งนี้ท้องฟ้าแจ่มใสตลอดการเดินทาง ในแต่ละคนก็มีหลากหลายเหตุผล แต่ส่วนใหญ่จะตอบว่า ไม่รู้ ก็เนื่องจากว่าไม่มีใครรู้จริงๆ เป็นไปได้ทั้งนั้น

"ปีหน้าจะได้ทำโรงเรียนมั้ย?"
คำว่าโรงเรียน อาจเข้าใจไปในที่ต่างกัน แต่ก็น่าจะเป็นสิ่งที่วางแผนว่าจะทำ ถามว่าปีหน้าจะได้ทำมั้ย ถ้าวางแผนว่าจะทำก็คงได้ทำแน่นอน

"ทำไมต้องมีเรื่องลี้ลับบนโลกนี้ด้วย เช่น ตายแล้วไปไหน?"
พี่ย้งบอกว่า เรื่องลี้ลับจริงๆ แล้วไม่มีหรอก มีแต่เรื่องที่เราไม่รู้ เพราะไม่รู้ จึงลี้ลับ ถ้ารู้แล้วคงไม่ลี้ลับอีกต่อไป พี่ยอดพูดถึงกรอบความคิด (ไม่แน่ใจว่าใช่คำถามนี้มั้ย แต่พี่ยอดพูดถึงเรื่องนี้ในหลายคำถาม) เพราะว่าคนเรามีกรอบความคิดอยู่แล้ว จึงได้แปลสิ่งที่เห็นตามกรอบความคิดเดิมของตัวเอง

"อีก ๑๐ ปีข้างหน้าคิดว่าโลกของเราจะเป็นอย่างไร?"
คำตอบมีมากมายหลากหลาย อ.ดี บอกเกี่ยวกับข้อมูลที่น่าเป็นห่วงและควรจะตระหนักให้มากถึงวิกฤตที่โลกเรากำลังจะต้องเจอ พี่ชิวพูดถึงความเชื่อมั่นในสิ่งดีๆ ถ้าเราเชื่อว่าดี สิ่งดีๆ จะตามมา สำหรับข้าพเจ้าเองคิดว่า ก็ยากจะจินตนาการ เพราะ ๑๐ ปีที่แล้วก็ไม่เคยฝันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คงต้องรอดู เพราะ ๑๐ ปีก็แค่แปปๆ

"อะไรที่ง่ายที่สุดสำหรับชีวิต?"
เหมือน จะง่าย แต่ไม่ง่ายที่จะนึกออกเลย เพราะว่าคนเราจำแต่สิ่งที่ยาก และมันก็มีซะมากมาย เฮียลื้อตอบว่า ก็หายใจสิ เออ จริงด้วย น่าจะง่ายที่สุดแล้วนะ จำเป็นต่อชีวิตด้วย เหมือนไม่ได้ทำอะไร มีน้องตอบว่า ของไหล ไหลไปตามยถากรรม อาจจะง่ายตอนนี้ แต่ยากทีหลัง

"ปรับหรือเปลี่ยน สิ่งไหนเราควรทำเมื่อต้องอยู่กับคนรอบข้าง?"
ข้อนี้ผู้เขียนคำถามจับได้เอง จึงได้ตอบเป็นคนแรก และดูเหมือนจะได้ข้อสรุปเองแล้ว นั่นคือ ควรจะปรับมากกว่า แต่ไม่ว่ายังงัยก็ยังสงสัยในคำนิยามของทั้ง ๒ คำ คือ ปรับ และ เปลี่ยน ปรับบางทีอาจจะคือเปลี่ยนก็ได้มั้ง แต่คงไม่มากเท่าไหร่ แต่ไม่ว่ายังงัยก็แล้วแต่ อ.ดี ให้ใช้ความเข้าใจบุคคลมากกว่า ถ้าเราเข้าใจเค้า เข้าใจเหตุผลของเค้า เราก็จะไม่โกรธเค้า พร้อมทั้งยกตัวอย่างในการได้ไปคุยกับผู้ที่มีอาชีพบางอย่างที่เรามองว่าไม่ดี (ที่เขียนอย่างนี้เพราะไม่อยากจำกัดเฉพาะบางอาชีพ แต่อยากให้หมายถึงทุกอาชีพที่แต่ละคนมองไม่ดี อย่างข้าพเจ้าเฉยๆ กับอาชีพขายบริการ แต่ไม่ชอบคนที่ทำอาชีพฆ่าสัตว์) ซึ่งเค้าก็คงมีเหตุผลส่วนตัวของเค้า ถ้าเราเข้าใจเค้า เราก็อาจเปลี่ยนมุมมองและการกระทำต่อเค้าได้

"มีวิธีหรือเทคนิคอะไรบ้างที่จะทำให้มีสติตลอดเวลา แล้วก็สามารถบังคับตัวเองได้?"
อยากขอบคุณคนถามจังซึ่งข้าพเจ้าก็อยากรู้เหมือนกัน แต่ละคนก็มีเทคนิคต่างๆ กัน วันนี้ได้มาหลายเทคนิคเลย แต่ไม่ว่ายังงัย บางเทคนิคก็อาจใช้ได้ดีกับเฉพาะบางคน ให้หาเทคนิคที่เข้ากับเราที่สุด

สุดท้าย "แต่ละวันมีความหมายอย่างไร?"
ความหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย อาจจะเป็นด้วยเหตุผลและความรู้สึกส่วนตัวที่เผชิญ แตกต่างกัน ต่างคนต่างก็มีสิ่งสำคัญไม่เหมือนกัน นี่ละมั้ง ข้าพเจ้าถึงได้มาเรียนรู้หลายๆ มุมมอง

คำถามครั้งนี้หนักกว่าครั้งที่แล้วมากๆ อาจจะขึ้นอยู่กับผู้ร่วมวง แต่ก็น่าคิดว่า คำถามมันดึงดูดพวกเดียวกันหรือป่าว เพราะที่ข้าพเจ้าตั้ง ไม่ใช่แนวนี้เลยไม่ได้ถูกจับขึ้นมา

แต่ละครั้งก็มีเหมือนกันความเป็นวงนั้นๆ เองซึ่งไม่เหมือนกัน ที่ข้าพเจ้าชอบเนื่องจากจะได้ฟังและแสดงความคิดของตัวเอง การได้มาฟังมุมมองของคนอื่นทำให้เราได้คิดในสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อน หรืออาจจะเคยลืมไป ที่ อ.เป็ดบอกว่าคนอื่นเหมือนเป็นกระจกเงาส่องตัวเอง เราจะเห็นตัวเองในคนอื่น หรือบางที คนที่เราคุยด้วยทุกวัน ในวันนี้ก็ได้รู้จักอีกด้านหนึ่งซึ่งเราไม่เคยเห็นมาก่อนก็ได้ ขอเพียงแต่ลองฟังอย่างตั้งใจ และไม่ตัดสิน ก็น่าจะที่จะช่วยพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ สิ่งที่สังเกตได้ในช่วงแรกๆ ไม่ว่าใครก็ยังไม่มีสมาธิอยู่กับวง แต่พอผ่านไปสักพัก จะเริ่มนิ่งและตั้งใจฟังมากขึ้น ในวันนี้ยอมรับว่า ยังมีอีกหลายความคิดดีๆ ที่จำไม่หมด และครั้งนี้ข้าพเจ้ามีความคาดหวัง ซึ่งตั้งใจจะตอบมาก ทำให้ฟังได้น้อย เนื่องจากคอยคิดอยู่เสมอว่าจะตอบแบบไหน บางทีก็ต้องคอยเตือนตัวเองให้อยู่กับปัจจุบันบ่อยๆ ทีหลังขอแก้ตัวว่าจะฟังให้มากขึ้น ขออภัยที่เขียนยาวและลงรายละเอียด (ที่ไม่ค่อยละเอียด) แค่อยากจะบันทึกเอาไว้ เผื่อวันหลังจะได้กลับมารำลึกถึง บางข้อก็ไม่ค่อยเข้าใจ อาจจะเป็นที่วัยและประสบการณ์ แต่เชื่อว่า พอถึงจุดๆ หนึ่งที่ทุกอย่างพร้อม น่าจะเข้าใจอย่างกระจ่างได้

บทความรจนาโดยคุณทิพย์ วงน้ำชาขอนแก่่น วันที่ ๑ ส.ค. ๒๕๕๒

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พบน้ำใจ ที่วงน้ำชา กับ ภาษาหนังสือ บทความจากคุณ Numalee

ต้องขอขอบพระคุณ คุณ Numalee ที่ได้กรุณาบันทึกและเขียนเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดในพื้นที่วงน้ำชา (หน้าชีวาทิพย์สปา จังหวัดขอนแก่น)

สมาชิกวงนำ้ชาขอนแก่นจึงขออนุญาตแบบไม่เป็นทางการเอามานำเสนอในพื้นที่ของวงน้ำชาแห่งนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านอื่นๆ ได้ขยายผลการเรียนรู้เช่นนี้ออกไปเรื่อยๆ มีวงน้ำชาอยู่
ทุกๆ ที่ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของเราจะได้เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบสิ้น

สันติ สติและการเรียนรู้
สมาชิกวงน้ำชา

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/esanwriter/2009/08/21/entry-1
ผู้เขียน คุณ Numalee email : numalee101@hotmail.com
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2552
พบน้ำใจ ที่วงน้ำชา กับ ภาษาหนังสือ
Posted by numalee , ผู้อ่าน : 67 , 11:14:17 น.
หมวด : วรรณกรรม/กาพย์กลอน

พิมพ์หน้านี้


มุม เล็กๆ ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของ "ชีวาทิพย์สปา" ริมบึงแก่นนคร เมืองขอนแก่น ที่นี่มีห้องเล็กๆ ที่มีคนเล็กๆ หลายคนมาร่วมทำกิจกรรม "วงน้ำชา วงน้ำใจ" ที่มีการจัดกิจกรรม "เสวนา"กันอยู่เนืองๆ ทั้งกิจกรรมทาง ศิลปะ อ่าน เขียน ฝึกสมอง ประลองฝีมือ นานาประการ

แม้ วงน้ำชาแห่งนี้ เพิ่งจะเกิดขึ้นได้ไม่นาน แต่ก็เป็นที่กล่าวขานของคนที่มีโอกาสมาพบเจอ เพราะเป็นมุมสบาย ที่มีหนังสือดีๆ หายากให้อ่าน ให้เลือกซื้อแล้ว ที่นี่ยังมีน้ำชาอร่อยๆ ที่หากินได้ไม่ง่ายนักไว้คอยบริการโดยไม่คิดสตังค์ แต่หากใครมีน้ำใจก็หยิบยื่นลงกล่องเพื่อบริจาคร่วมกันได้

และ วงเสวนา "BOOK CLUB" (กำลังหาชื่อภาษาไทย ใครสนใจร่วมแสดงความคิดเห็นและตั้งชื่อได้) ที่ก่อตั้งกันแบบไม่เป็นทางการ ก็ได้เกิดขึ้นที่นี่เช่นกัน เกิดขึ้นเพราะคนที่รักการอ่านหนังสือ อยากจะมีเวทีที่ได้พูดคุย แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ถึงความชอบ ความรัก ของคนที่รักหนังสือเช่นกัน

และเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่ "BOOK CLUB" ได้มีโอกาสนัดรวมพลกัน โดยมีเกณฑ์ว่า คนที่มาจะต้องถือหนังสือที่ตัวเองรัก และ ชอบอ่านมากที่สุด เรียกว่าเป็นหนังสือในดวงใจ มาคนละ 1 เล่ม พร้อมกับบอกเล่าถึงเหตุผลที่ตัวเองชอบให้เพื่อนฟัง

ซึ่งแต่ละคนก็ หยิบหนังสือที่ชอบติดมือมา พร้อมบอกเล่าความในใจอย่างอิ่มเอม พร้อมดวงตาที่อิ่มสุข เนื่องจากไม่ค่อยมีโอกาสมากนัก ที่จะมีเวทีเสวนา ที่เปิดโอกาสให้ใครสักคนมาพูดคุยถึงเรื่องราวของหนังสือที่เขาชอบอ่าน

ลุงตุ๊ หยิบหนังสือ "จิตว่าง"ของท่านพุทธทาสภิกขุมาบอก

เฮียลื้อ หยิบ "ต้นทางที่มะละแหม่ง"ขององค์ บรรจุน มาเล่า

คุณดี หยิบ สิทธิธัตถะ ฉบับภาษาอังกฤษ มาบรรยาย

พี่เด หยิบหนังสือธรรมะเล่มโปรดมาเสนอแนะ

คุณน้อย ชอบเล่มเดียวกับพี่เด

คุณหน่อย หยิบ "อ่านหนังสือเล่มนี้เถอะที่รัก"มาเล่าความในใจให้ฟัง

น้องพฤกษ์ หยิบ ไล่ตงจิ้น มาบอกเล่า ฯลฯ

หลังจบเวที สมาชิกทุกคน แลกหนังสือกันอ่าน โดยมีเวลานัดหมายว่า ครั้งต่อไป ให้สมาชิกเอาหนังสือที่แลกกันอ่าน กลับมาคืนกันอีกครั้ง

แล้วครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้นอีก เมื่อวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยนัดนี้มีสมาชิกมาเพิ่มอีกหลายคน

พี่ตึ๋ง ที่พาน้องเชนทร์ และ ภรรยาสาวสวย คุณกุ้ง มาบอกว่า ชอบวรรณกรรมเยาวชน บ้านเล็กในป่าใหญ่

พี่เล็ก ทนายสาวบอก ชอบหนังสือธรรมะ และอยากจะพิมพ์เผยแพร่

พี่กุ้ง แห่งเคหะ บอก ชอบธรรมะเช่นกัน และกลังปฏิบัติธรรมอยู่

อ.เรียว จาก มข.หยิบ "ทะเลน้ำนม"ของชัชวาลย์ โคตรสงคราม มาบอกเล่า ทำให้หลายคนอยากอ่านบ้าง

พี่จิ๊บ แห่งตึกคอม (คอมพิวเตอร์ มข.)บอกชอบ วิถีแห่งเต๋ม ปล่อยวางอย่างเซน และจิตว่าง ของท่านพุทธทาส

น้องอิม คนสวย ชอบ คนรักของความเศร้า ผลงาน อังคาร จันทาทิพย์

คุณเอิร์ท บอกชอบ เพียงผ่านพบ ไม่ผูกพัน ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พร้อมเรื่องประทับใจ "ชอบผมได้นะ แต่อย่าเป็นเหมือนผม"

หลัง จบการพูดคุย ของคนที่มีหัวใจเดียวกัน ความเต็มอิ่ม และ ความสุขปรากฎขึ้นเต็มใบหน้า ก่อนลาจากกันอีกวัน เรานัดหมายพบกันอีกที ในวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคมนี้ ในอารมณ์ของบทกวี "วรรคทองในหัวใจ" ที่หลายคนอาจจะมีวรรคทองที่ฝังในใจ และใช้เป็นคำสอนตนเองอยู่เสมอ แต่ไม่มีโอกาสได้บอกเล่าให้ใครฟัง

ใครสนใจ อยากจะร่วมบรรยากาศพูดคุยแบบภาษาหนังสือ ภาษากวี ก็เชิญมาร่วมพูดคุย ถ่ายทอด ร่วมกันได้ที่นี่ ตั้งแต่เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป และในวันนี้ ยังจะมีโอกาสดี จะได้ฟังการอ่านบทกวีของ "อรอาร อุษาสาง" นักเขียนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งคลอดผลงานรวมเล่มบทกวี "บนพื้นผิวแผ่นดินที่กำลังแตกกระจาย"ด้วย

หวังว่าคนรักหนังสือคงไม่พลาดที่จะพบเจอกันที่นี่ ....


อ่านความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4
ยโสธรโพนทัน วันที่ : 25/08/2009 เวลา : 12.21 น.
http://www.oknation.net/blog/sanya



สบายดี
ความคิดเห็นที่ 3
tatuk วันที่ : 23/08/2009 เวลา : 21.08 น.
http://www.oknation.net/blog/tatuk
หวังรักอุ่นนิรันดร์ รักเรียบง่ายแต่งดงาม...



นักเขียนสนใจพบปะนักอ่านเสมอ
เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครจัดเวทีให้นำเสนอผลงานนัก
ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ อรอาย อุษาสาง ได้ร่ายรำคำกวีแถวนั้น


ความคิดเห็นที่ 2
กลองไท วันที่ : 21/08/2009 เวลา : 20.29 น.
http://www.oknation.net/blog/kraitong
ไทนาหว้า



แวะมาชื่นชมกิจกรรมดีๆครับ
ความคิดเห็นที่ 1
ลูกเสือหมายเลข9 วันที่ : 21/08/2009 เวลา : 11.18 น.
http://www.oknation.net/blog/chai
<<==แวะไปทัก..แล้วคุณจะรักหนุ่มคนนี้



มาออกความเห็นนิดหนุ่งนะครับ
ผมอ่านพบเสมอ และเชื่อมาตลอด ว่านักประพันธ์ เป็นกลุ่มคนที่พบปะแลกเปลี่ยนความคิดกันมากที่สุด
มากกว่านักแสดง นักดนตรี
แต่ทำไมไม่เคย"แปร"ผลการพบปะออกมาเป็น"รูปธรรม"เพื่อขยายวงการอ่านหนังสือ ..

นักเขียนก็มีแฟนคลับนะครับ
แต่ทำไมคนอ่านหนังสือในเมืองไทยไม่เพิ่มขึ้น
คนที่เป็นนักเขียนไม่สนใจประเด็นนี้เหรอ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สนทนากับกาน้ำชา ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

ที่วงน้ำชา เย็นวันนี้ เราได้โอกาสเหมาะมานั้งจิบชา ชมแสงอาทิตย์ยามเย็นรอบบึงแก่นนคร พวกเรานั่งสนทนากันอยากเริงใจเป็นอย่างไรก็เลยมาลองหาคำตอบกัน...

ย้อนไปเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว มีชาวต่างชาติคือคุณ Kristine (ชาวสหรัฐฯ) ได้แวะมาที่วงนำ้ชา เราคุยกันถึงกิจกรรมและการพูดคุยกันอย่างออกรส ตบท้ายเธอได้เล่าให้เราฟังว่า เธอเคยเข้าร่วมกิจกรรมการสนทนาชนิดหนึ่ง คือการที่ให้ทุกคนเขียนคำถามอะไรก็ได้ขึ้นมา
คนละ ๓-๕ คำถาม ในแผ่นกระดาษ แผ่นเล็กๆ แล้วก็ให้ผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้จับฉลากนั้นขึ้นมาทีละใบ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ลองตอบคำถาม โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเกิดคำถามใดโดนใจก็จะตอบ ถ้าเกิดว่ารู้สึกไม่อยากตอบก็ไม่ต้องตอบและจะให้โอกาสให้มีคนพูดครั้งละหนึ่งคน โดยที่เหลือก็ฟังอย่างตั้งใจ จะโต้ตอบบ้าง หรือถามเสริมต่อก็ได้ไม่เป็นไร แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องเคารพสิทธิผู้ตอบคำถามหรือผู้ถูกถามว่าจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้

เมื่อวงน้ำชาได้ฟังก็เลยเกิดความคิดว่าน่าจะลองทำกิจกรรมการสนทนานี้ดู
ฟังแล้วเหมือนไม่มีอะไร แต่พ่อคำถามแรกถูกถาม ก็เกิดการสนทนาอย่างออกรสออกชาด
พวกเรานั้งล้อมวงคุยกันไป จิบน้ำชาไป ตั้งแต่หกโมงเย็น มารู้ตัวอีกทีก็ ๔ ทุ่มแล้ว

นี้เป็นตัวอย่างความรู้สึกของพี่ๆ น้องๆ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการสนทนากับกาน้ำชาในครั้งนี้
*ครั้งนี้เรามีคนเข้าร่วมกันอยู่ ๘-๑๐ คน

"ผู้คนเพ่นพ่านละลานตา คุณค่าในตัวแตกต่าง
ดีเลวปะปนระคนบ้าง เปิดใจปล่อยวางร่วมทางกัน" จากคุณ Nilita

"การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดคือการที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง
หากใช่การเรียนรู้ทางด้านวิชาการอันจะทำให้เราวิ่งตามสิ่งที่มีคนเขารู้กันอยู่แล้ว" พีุ่เป็ด

"ความรู้สึกในตอนนี้ที่ได้มาตอนแรกๆ รู้สึกแปลกในกิจกรรมนี้ แต่พอนั่งฟังคนอื่นตอบคำถาม
เราก็ได้รู้ความคิดและมุมมองที่บางอย่างก็เหมือนกับเราแต่บางอย่างที่เราคิดไม่ถึงก็มี
ทำให้เราได้เปิดในมุมมองใหม่ๆ ครับ"

"การบำบัด การเพิ่มพลัง การย้อนสู่อดีต การภาวนา การสบตาตั้งใจฟัง การเติบโต
การอดทน การรอคอย การใคร่ครวญ การพัฒนาฯลฯ ทุกสิ่งเกิดมาจากวงน้ำชา"
วันที่ ๒๑ ส.ค. ๕๒ ขอพลังสติจงอยู่กับท่าน จากคุณสอยอ

"วงน้ำชา" คุณรู้จักหรือเปล่า ผมหน่ะมาเพราะจำการปลดปล่อย ส่ิงที่เป็นตัวเรา สิ่งที่เป็นคนอื่น
ทุกคนไม่มีเรื่องปิดบังกัน ทุกคนมีอิสระภาพเป็นอย่างมาก เลยครับ ที่ผมอยากบอกก็คือ
มาบอกเล่าความเป็นคุณ มันจะสนุกมากเลยน่ะ เรามีเพื่อนต่างวัยมากเลย และคุณจะพบกับส่ิงดีๆ"
จากคุณกง

"Ah! I am frustrated...I wish I can understand Thai so I can understand everyone's stories.
How can I understand? How can I learned? Help me, but in the end, I leave with a smile. :)" JT

"ขอบคุณวงน้ำชามากๆ ค่ะ ที่เป็นสถานที่ให้ได้เรียนรู้ชีวิตและมุมมองที่หลากหลายที่ได้รับในวันนี้
อยากให้มีแบบนี้อีกน่ะค่ะ"

"เหนื่อยมาก แต่หายเหนื่อยแล้ว ขอบคุณทุกคนมากๆ" หมอแจ็ค

*ภาพบรรยากาศวงสนทนากับกาน้ำชา






















































ตบท้ายเราก็เลยรู้สึกร่วมกันว่าจะจัดการสนทนาแบบนี้ หรือกิจกรรมการพูดคุยในลักษณะเช่นนี้ในทุกๆ วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป หากท่านสนใจและอยากค้นตนเองและเรียนรู้จากผู้อื่น
ขอเชิญมาร่วมกิจกรรมนี้ได้ที่วงน้ำชาขอนแก่น(หน้าชีวาทิพย์สปา) ร้านเปิดวันอังคารถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. หรือ ๑๗.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น.และวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น.



หรือหากว่าท่านสนใจที่จะพาเราทำกิจกรรมในลักษณะเดียวกันแต่รูปแบบอื่นๆ ก็สามารถติดต่อเรา
เพื่อแสดงความจำนงค์ในการจัดเวทีได้เช่นกัน ที่ e-mail: wongnamchakhonkaen@gmail.com
หรือโทร. ๐๘๑-๙๗๔-๐๒๙๐ (คุณดี), ๐๘๕-๔๙๖-๖๖๙๖ (คุณเป็ด), ๐๘๕-๐๐๕-๑๕๕๔ (คุณสอยอ)