ท่านได้เล่าให้เราฟังว่าได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมโรงเรียนพ่อแม่ ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทันเมื่อสองเดือนที่แล้ว และได้มีโอกาสไปอ่านบทความที่เว็บไซด์ www.wongnamcha.com แล้วก็เกิดมุมมองใหม่ทรรศนะใหม่เกี่ยวกับ "บทบาทของการเป็นแม่ที่ดี" ว่าจริงๆ แล้วเราควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้าใจ "ลูก" มากกว่าที่จะรอให้ลูกมาเข้าใจพ่อแม่ การแสดงออกของลูกหลายๆ อย่างทั้งในแง่ดีและแง่ลบเกิดมาจาก การปฏิบัติของพ่อแม่ต่อลูก
พ่อ แม่ ลูก ทั้งสามองค์ประกอบมีส่วนในการสร้างครอบครัวที่อบอุ่น แต่จะทำอย่างไรจึงจะเกิดความสมดุล
ได้เล่า
คุณแม่ท่านนี้เล่าให้ฟังถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อคุณแม่หันมาให้ ความสำคัญ ดูแล เอาใจใส่ต่อรายละเอียดของลูก ให้ความสำคัญต่อความ "เข้าใจ" ในตัวลูก เธอเน้นนักเน้นหนาว่า พอเราเข้าใจลูกแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกก็ดีขึ้น พ่อแม่เปลี่ยนมุมมองของตนเองและหันมา "ฟัง" ลูกอย่างตั้งใจ ความเข้าใจดังกล่าวก็เกิดขึ้น
ตอนท้ายคุณแม่ท่านนี้ก็เล่าให้ฟังว่า สนใจที่จะจัดกระบวนการพูดคุยกันภายในครอบครัว ระหว่าง พ่อ แม่และลูก แต่ยังไม่เคยทำ แต่ก็อยากลองทำ คุณลูกที่นั้งอยู่ติดๆ กัน(ซึ่งแวะมาทีหลังเพื่อมารับคุณแม่) ก็เลยเสริมให้เราฟังว่า พอคุยกันทีไรก็ทะเลาะกันทุกที ทำยังไงถึงจะไม่ทะเลาะกันเล่า วงน้ำชาก็เลยเสริมไปให้ฟังว่า จริงๆแล้วสมาชิกวงนำ้ชาก็ยังไม่เคยได้ทำอะไรเช่นนี้มาก่อน แต่ก็อยากให้ครอบครัวของคุณแม่ท่านนั้นไปลองดู แต่อาจจะเริ่มจากการตั้งกฎ กติการ่วมกัน และมีข้อควรปฎิบัติที่สำคัญก็คือ เคารพผู้พูดและเป็นผู้ฟังที่ดี นอกเหนือจากนั้นก็ให้เป็นไปตามธรรมชาติ และเสริมไปอีกว่า อยากให้ลองทำดู ได้ประสบการณ์เช่นไรก็ลองมาเล่าให้กันฟังอีกที
เกริ่มเสียอย่างยาว จริงๆ แล้ววงน้ำชาอยากจะแนะนำหนังสือสองเล่มนี้ที่อาจจะเกี่ยวกันอยู่บ้างถึงปรัชญาและแนวทางในการดูแลกันและกันภายในครอบครัว เปิดโอกาสให้การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นในรั้วบ้านของกันและกัน
เล่มใหม่ล้าสุดคุณลูกเขียนเล่า:
อิสระอย่างยิ่ง ดังอิสรา
ราคา 250.00 บาท
รายละเอียด: โดย อัสรา วังวิญญู
สำนักพิมพ์วงน้ำชา
พิมพ์ครั้งแรก 2551
หนา 290 หน้า
ยิ่ง มีพ่อและแม่ที่มีความสามารถพิเศษ อันที่จริงฉันคิดว่าทุกคนมีความพิเศษ ถ้าคำว่า พิเศษ คือไม่เหมือนทั่วไป เพราะรูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอ ความสามารถ ไม่ได้ออกมาจากแบบพิมพ์ จึงไม่มีใครเหมือนกันทุกอย่างทุกประการ แม้ว่าโหนกจะจากไปตอนยิ่งเพิ่งอายุ ๔ ขวบ แต่ใหญ่ก็เลี้ยงดูลูกด้วยความคิดที่ร่วมกันทั้งเขาและโหนก ในฐานะแม่ที่มีลูกยังเล็กเหมือนกัน ฉันคาดเดาว่าโหนกคงมีความกังกลต่อชะตากรรมของตัวเองและลูก ฉันตัดสินใจถามโหนกตรงๆ ว่า ห่วงลูกไหม โหนกมองตาฉันแล้วบอกว่า ห่วงสิ เธอน้ำตาคลอ ฉันบีบมือเธอเบาๆ ด้วยความรัก ไม่ได้พูดอะไรอีกเชื่อมั่นในสติปัญญาของเธอว่าจะคลี่คลายได้ ผ่านไปอีกสองสัปดาห์ ฉันไปเยี่ยมเธออีกถามคำถามเดิม ยังห่วงลูกไหม โหนกยิ้มเปิดเผยอย่างเป็นตัวเธอตอบว่า ไม่หรอก คุยกับใหญ่แล้ว ใหญ่เขาจะเลี้ยงลูกได้ดี....
หนังสือพ่อเขียน: โรงเรียนทำเอง (Home-made School)
สำนักพิมพ์ศยาม
พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2548 หนา 144 หน้า
... ความไม่ลังเล ความมีสติสัมปชัญญะ ความตั้งมั่น เป็นพลังขับเคลื่อนให้ผู้เขียน (วิศิษฐ์ วังวิญญู) ดำเนินการจัดทำโรงเรียนที่บ้าน หรือทำบ้านและชีวิตให้เป็นที่เรียนรู้ จนหมดความยึดมั่นในคำว่าไปโรงเรียนอย่างสิ้นเชิง ... และได้นำมาถ่ายทอดผ่านหนังสือเล่มนี้ ในรูปของการเล่าถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองและลูก อันเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ อาทิ การเข้าสังคม ความเป็นอยู่ในชีวิตที่เรียบง่าย ภาษาและการอ่านการเขียน ความสำเร็จหรือความล้มเหลว การค้นพบความเลื่อนไหล วิชาการ หลักสูตร องค์ความรู้ กระบวนท่า มหาวิชา และความเป็นผู้นำ
โรงเรียนทำเอง เล่มนี้ น่าจะช่วยสะท้อน และผ่อนปรนการยึดมั่นต่อระบบการศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
(อ้างอิง: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย http://www.kledthaishopping.com)
อิสระอย่างยิ่ง ดังอิสรา
ราคา 250.00 บาท
รายละเอียด: โดย อัสรา วังวิญญู
สำนักพิมพ์วงน้ำชา
พิมพ์ครั้งแรก 2551
หนา 290 หน้า
ยิ่ง มีพ่อและแม่ที่มีความสามารถพิเศษ อันที่จริงฉันคิดว่าทุกคนมีความพิเศษ ถ้าคำว่า พิเศษ คือไม่เหมือนทั่วไป เพราะรูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอ ความสามารถ ไม่ได้ออกมาจากแบบพิมพ์ จึงไม่มีใครเหมือนกันทุกอย่างทุกประการ แม้ว่าโหนกจะจากไปตอนยิ่งเพิ่งอายุ ๔ ขวบ แต่ใหญ่ก็เลี้ยงดูลูกด้วยความคิดที่ร่วมกันทั้งเขาและโหนก ในฐานะแม่ที่มีลูกยังเล็กเหมือนกัน ฉันคาดเดาว่าโหนกคงมีความกังกลต่อชะตากรรมของตัวเองและลูก ฉันตัดสินใจถามโหนกตรงๆ ว่า ห่วงลูกไหม โหนกมองตาฉันแล้วบอกว่า ห่วงสิ เธอน้ำตาคลอ ฉันบีบมือเธอเบาๆ ด้วยความรัก ไม่ได้พูดอะไรอีกเชื่อมั่นในสติปัญญาของเธอว่าจะคลี่คลายได้ ผ่านไปอีกสองสัปดาห์ ฉันไปเยี่ยมเธออีกถามคำถามเดิม ยังห่วงลูกไหม โหนกยิ้มเปิดเผยอย่างเป็นตัวเธอตอบว่า ไม่หรอก คุยกับใหญ่แล้ว ใหญ่เขาจะเลี้ยงลูกได้ดี....
หนังสือพ่อเขียน: โรงเรียนทำเอง (Home-made School)
สำนักพิมพ์ศยาม
พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2548 หนา 144 หน้า
... ความไม่ลังเล ความมีสติสัมปชัญญะ ความตั้งมั่น เป็นพลังขับเคลื่อนให้ผู้เขียน (วิศิษฐ์ วังวิญญู) ดำเนินการจัดทำโรงเรียนที่บ้าน หรือทำบ้านและชีวิตให้เป็นที่เรียนรู้ จนหมดความยึดมั่นในคำว่าไปโรงเรียนอย่างสิ้นเชิง ... และได้นำมาถ่ายทอดผ่านหนังสือเล่มนี้ ในรูปของการเล่าถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองและลูก อันเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ อาทิ การเข้าสังคม ความเป็นอยู่ในชีวิตที่เรียบง่าย ภาษาและการอ่านการเขียน ความสำเร็จหรือความล้มเหลว การค้นพบความเลื่อนไหล วิชาการ หลักสูตร องค์ความรู้ กระบวนท่า มหาวิชา และความเป็นผู้นำ
โรงเรียนทำเอง เล่มนี้ น่าจะช่วยสะท้อน และผ่อนปรนการยึดมั่นต่อระบบการศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี